🙍ปวดไหล่ปัญหากวนใจที่ต้องรักษา
🌟อาการปวดไหล่เป็นได้ทุกวัย วัยที่พบว่าปวดได้บ่อย จะพบอยู่ 2 กลุ่ม คือกลุ่มวัยทำงานที่มีกิจกรรมมาก อาทิ บุคคลที่เล่นกีฬา และกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งจะเห็นว่าปัจจุบันคนไทยมีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นผู้สูงอายุจะมีกิจกรรมที่ทำ เมื่อทำกิจกรรมจึงเกิดปัญหาเนื่องจากสภาพร่างกาย ความสมบูรณ์ ไม่เหมือนตอนวัยหนุ่ม เมื่อเกิดการใช้งานมากส่งผลให้เกิดปัญหาการปวดไหล่มากขึ้น
🌟อาการปวดไหล่มีอยู่ 2 ประเภท
– แบบเฉียบพลัน
-อาการอยู่ในระยะ 3-6 สัปดาห์
-ปวดหลังจากการใช้งาน และกิจกรรมหนัก
-ใช้งานได้ปกติ แต่มีอาการปวดล้าของไหล่
– แบบเรื้อรัง
-อาการปวดนานกว่า 6 สัปดาห์
-มีอาการปวด แม้ตอนไม่ได้ใช้งาน
-ปวดกลางคืน ทำให้ต้องตื่นกลางดึก
-มีข้อไหล่ติด
-มีอาการอ่อนแรง
-โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่พบแพทย์จะมีอาการปวดแบบเรื้อรัง เนื่องจากอาการปวดแบบเฉียบพลันบางราย สามารถดูแลตนเองเบื้องต้นได้และจะหายไปเอง โอกาสน้อยมากที่ปวดแบบเฉียบพลันแล้วเข้าพบแพทย์ มักจะต้องเกิดจากอุบัติเหตุที่รุนแรง อย่างเช่นนักกีฬาที่ล้ม เป็นต้น
– กล้ามเนื้ออักเสบ(เฉียบพลัน)
เนื่องจากตำแหน่งที่เจ็บปวดใต้ผิวหนังจะเป็นกล้ามเนื้อ เพราะฉะนั้นจะมีส่วนที่ทำให้เกิดการอักเสบ และมีอาการปวดตามมาจากการใช้งานเป็นส่วนใหญ่
-การรักษา(เฉียบพลัน)
เบื้องต้นที่ปฐมพยาบาลเองได้ที่บ้าน
-ทานยาแก้ปวด,ยาลดการอักเสบ
-ประคบความเย็น ห้ามประคบร้อน
-พักการใช้งาน
-ยาฉีดสเตียรอยด์
-กายภาพบำบัด
สาเหตุปวดเรื้อรัง
-ใช้งานมาก
-อุบัติเหตุ ข้อไหล่หลุด ข้อไหล่หลวม
-ข้อเสื่อม
-เอ็นข้อไหล่ฉีกขาด ล้ม ไหล่กระแทก เล่นฟิตเนส หรือความเสื่อมของเส้นเอ็น
-ปวดร้าวจากตำแหน่งอื่น เช่น กระดูกคอเสื่อม
– วิธีรักษาอาการปวดในระยะเฉียบพลัน
-หยุดพักการใช้ข้อไหล่ โดย งดยกของหนัก อาจใช้ผ้าคล้องแขนไว้ ประมาณ 2-3 วัน เพราะจะทำให้เกิดภาวะข้อไหล่ติดได้
-การประคบด้วยความเย็น โดยใช้ถุงเย็น หรือใช้ยานวดแก้ปวด
-รับประทานยาบรรเทาอาการปวด เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ
-การทำกายภาพบำบัด บริหารข้อไหล่ เพื่อลดอาการปวด และฟื้นฟูสภาพให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น
-หากอาการปวดไม่ดีขึ้นใน 2-3 วัน ข้อไหล่บวม มีอาการชาของแขน หรือรู้สึกปวดมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
– สัญญาณอันตรายของอาการปวดไหล่มีอะไรบ้าง
-มีข้อไหล่บวม
-มีอาการปวดมานานกว่า 2 สัปดาห์
-มีอาการปวดร่วมกับการเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ไม่เต็มที่
-มีอาการชาของแขน หรือมีอาการเย็น หรือเปลี่ยนสีของผิวหนัง บริเวณแขนร่วมด้วย
-มีอาการอื่น อาทิ มีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดร่วมด้วย เป็นต้น
หากผู้ป่วยปล่อยไว้นาน โดยไม่พบแพทย์ ขึ้นอยู่กับภาวะอาการของผู้ป่วยร่วมด้วย เช่น หากมีภาวะเส้นเอ็นฉีกขาด ผู้ป่วยได้ทำการรักษาตนเองเบื้องต้น มีอาการเป็นๆหายๆ อาจจะมีอาการอ่อนแรงบ้าง แต่ผู้ป่วยคิดว่าไม่เป็นอะไร ผ่านไป 1-2 ปี เนื้อเส้นเอ็น ขาดใหญ่มากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพการรักษาของแพทย์ไม่ดี ทำให้ยากต่อการรักษาเป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ผศ.นพ.ประสิทธิ์ วงศ์ตรีรัตนชัย รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ และอาจารย์ประจำภาควิชาออโทปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ติดตามผ่านช่องทาง
Facebook : https://cmu.to/2EQgr
Website : https://bit.ly/3oX40nf
Twitter : https://cmu.to/5j-6B
Telegram : https://bit.ly/3JCFC1Z
Blockdit : https://bit.ly/3rTnBGW
Line@MedCMU : https://bit.ly/3LIUn5e
Instagram : https://bit.ly/3Bt24Yz
#ปวดไหล่
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU