“เล่าเรื่อง เมืองล้านนา” 9 มิถุนายน 2567

Watch Mass TV, (Lanna News 3 sessions from 7 a.m. – noon- 6 p.m.) , Lanna documentary Watch via all mobile systems all over Thailand around the world ) , click this LINK

https://live2.thaitvstream.com/play/mounchontv/index.m3u8

*****************

ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ)นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. เป็นประธานเปิดกิจกรรม MEDCHIC Health Data Hackathon 2024 ให้แก่ นักเรียน นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือก

**********************

ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ)นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. พร้อมด้วย รศ.นพ.ณัฐพงศ์ โฆษชุณหนันท์ รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. ร่วมปรึกษาหารือกิจกรรมประมูลภาพการกุศลโครงการ “ฮอมบุญ Arts & Donations” ครั้งที่ 2 นำโดยคุณมนัส เกียรติเจริญวัฒน์ กรรมการผู้จัดการคุ้มหอมคาเฟ่ & อาร์ตแกลลอรี่ เชียงใหม่ ร่วมกับ เชียงใหม่อาร์ตมิวเซียม, ศิลปินแห่งชาติ และศิลปินจิตอาสาชั้นนำของภาคเหนือ โดยรายได้จากโครงการนี้ส่วนหนึ่งมอบให้แก่มูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอก เพื่อร่วมในโอกาศฉลอง 65 ปีคณะแพทยศาสตร์ มช
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 ณ ห้องประชุม 802 อาคารราชนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.

ติดตามผ่านทาง Facebook : https://cmu.to/AttIm

ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

***********************

โรงพยาบาลสวนปรุง โครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้นแพทย์เวชศาสตร์ป้องกันสุขภาพจิตชุมชน ปีงบประมาณ 2567 (รุ่นที่ 11) กิจกรรมที่2การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การบูรณาการ งานสุขภาพจิตที่2การประชุมเชิงปฏิบัติการ

*********************

ข่าวสังคมชาวบ้านประจำวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2567 โดยสินในน้ำ✍️….ได้มีการวิจัยโดยนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำได้พบ 4 ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการมีอายุยืนยาวหรืออายุสั้นลง ซึ่งข้อมูลนี้เห็นว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับพี่น้อง โดยเฉพาะคนแก่ทั้งหลาย ที่เวลานี้ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมของผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบและอีกไม่กี่เดือนก็จะมีคนแก่เพิ่มขึ้นอีกทั่วประเทศเนื่องจากเดือนกันยาที่จะถึง เป็นเดือนของผู้เกษียณอายุราชการที่ครบ 60 ปี…. และข้อมูลที่นำเสนอได้ แก่ ความเร็วในการเดิน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ในสหราชอาณาจักร ติดตามผู้คนจำนวนมากเป็นเวลา 7 ปี พบว่า (โดยไม่คำนึงถึงดัชนีมวลกาย) คนที่เดินเร็วขึ้นก็จะมีอายุยืนยาวขึ้นเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่เดินช้า คนที่เดินเร็วจะมีอายุยืนยาวกว่าโดยเฉลี่ย 15–20 ปี เนื่อง จากการเดินเร็ว จะตรงตามข้อกำหนดพื้นฐานในการออกกำลังกายอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเผาผลาญไขมันได้มากขึ้น ส่งเสริมการไหลเวียนของเลือด การทำงานของหัวใจและปอด การเดินต้องใช้การประสานงานของกระดูกกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ฯลน…..คนปกติควรรักษาความเร็วในการเดินไว้ที่ 0.9 เมตร/วินาที หากความเร็วต่ำกว่า 0.6 เมตร/วินาที แสดงว่ากล้ามเนื้อลีบอย่างรุนแรง หากสังเกตเห็นว่าความเร็วในการเดินลดลงมากเกินไป โอกาสเสียชีวิตภายใน 1-10 ปีข้างหน้ามีสูง ต้องรีบแก้ไขด้วยการฝึกเดินช้า/สลับเดินเร็วรอบละ 2-3 นาที เพียง 10 รอบ ก็เดินได้ 20-30 นาที ต่อวัน สัปดาห์ละ 5 วัน ก็เพียงพอสำหรับผู้สูงอายุแล้ว…..มาที่ความสามารถในการนั้งและยืน สามารถช่วยทดสอบความยืดหยุ่นของเอ็นแขนขาส่วนล่าง และสุขภาพของข้อเข่าได้ ผู้ที่มีความยืดหยุ่นของเอ็นที่ดี และข้อต่อที่แข็งแรง จะมีโอกาสมีชีวิตที่ยืนยาวมากกว่า 10 ปี เพื่อทดสอบความสามารถในการลุก/นั้ง สามารถเลือกเก้าอี้ที่ไม่มีที่วางแขน นั้งบนเก้าอี้โดยวางเท้าบนพื้นใช้ 2 มือกอดอก จากนั้นลองยืนขึ้นจากเก้าอี้ แล้วนั้งภายในเวลา 30 วินาที โดยไม่ใช้มือช่วยเหลือ….ผู้ชายควรลุกนั้งได้มากกว่า 14 ครั้ง ผู้หญิงควรลุกนั้งได้มากกว่า 12 ครั้ง ถ้าลุกนั้งได้น้อยกว่าจำนวนดังกล่าว แสดงว่ากล้ามเนื้อสะโพกและขาอ่อนแรง ข้อเข่าไม่ดี มีโอกาสเสียชีวิตได้ภายใน 1-10 ปี ถ้าต้องการมีอายุยืนยาวมากกว่า 10 ปี ต้องพยายามลุก/นั้ง ให้ได้มากกว่าอัตราดังกล่าวข้างต้น แต่ก็ต้องไม่ประมาทเพราะว่าสังขารเราเริ่มเสื่อมถอยลงไปค่อนข้างมากแล้ว วันนี้เอาแค่นี้ก่อน พรุ่งนี้จะมาว่าในเรื่องของการบีบมือที่ดี ใครที่สนใจเรื่องของสุขภาพพรุ่งนี้มาต่อกัน....มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ขอเชิญร่วมกิจกรรมเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สายธารวิถีปัญญา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ในวันที่ 3-6 กรกฏาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์เวียงบัว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พบกับกิจกรรม การประชุมวิชาการ สัมมนา การนำเสนอผลงาน วิชาการ นิทรรศการ ด้านการผลิตครู ด้านการพัฒนาท้องถิ่น ด้านวิจัยและวิชาการด้านศิลปะ วัฒนธรรม การประกวดแข่งขันทักษะวิชาการ กิจกรรมการแสดง งานเลี้ยงคืนสู่เหย้าชาวดำ-เหลือง และการรับสมัครนักศึกษาใหม่ CMRU68 รอบพิเศษ งานนี้ศิษย์เก่าศิษย์ใหม่อย่าลืม
….สินในน้ำ

Related posts