คณะกรรมการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดพะเยาประกาศกำหนดแนวทางในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2568 เน้นควบคุมกลุ่มเสี่ยง นำมาตรการทางกฏหมายบังคับเข้มข้น

นายรัฐพล นราดิศร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาประธานกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดพะเยา ลงนามในประกาศคณะกรรมการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดพะเยา เรื่อง กำหนดแนวทางในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2568 และเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2568 ระหว่างวันที่ 11-18 เมษายน 2568 เพื่อลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุและปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งป้องกันเด็กและเยาวชนมิให้เข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยง่าย

ด้วยจังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวสัญจรผ่านและประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์เพื่อพบปะกลุ่มเพื่อน ญาติ หรือครอบครัว และมักมีการดื่มสังสรรค์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นสาเหตุหลักที่สำคัญของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ข้อมูลศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดพะเยา ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2567 ระหว่างวันที่
29 ธันวาคม 2566 – 4 มกราคม 2567 มีผู้บาดเจ็บจำนวน 261 ราย เสียชีวิต จำนวน 1 ราย มีผู้ขับขี่ดื่มแล้วขับ จำนวน 72 ราย เป็นเยาวขนอายุต่ำกว่า 20 ปีที่ดื่มแล้วขับ จำนวน 13 ราย (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ50) ของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่
10 – 17 เมษายน 2567 มีผู้บาดเจ็บจำนวน 271 ราย เสียชีวิต จำนวน 5 ราย มีผู้ขับขี่ที่ดื่มแล้วขับ จำนวน
62 ราย เป็นเยาวขนอายุต่ำกว่า 20 ปีที่ดื่มแล้วขับ จำนวน 13 ราย (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.53) ของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
ดังนั้น เพื่อลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุและปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้ง
ป้องกันเด็กและเยาวชนมิให้เข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยง่าย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 1 และมาตรา 22 (3) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546

แนวทางการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2568 ของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำนักงานคณะกรรมการควบคุบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค จึงออกประกาศ ไว้ดังนี้
1. ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา อำเภอทุกอำเภอ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สรรพสามิตพื้นที่พะเยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างกระแสให้ร้านค้าและประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจำหน่ายและบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเน้น
– ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่เด็กและเยาวชน ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี โดยเด็ดขาด
– ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายทุกประเภท (โปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม)
ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาที่กฎหมายกำหนด (เวลา 11.00-14.00 น.และ 17.00-24.00)
– การสื่อสารให้ความรู้ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนนที่มีสาเหตุมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2. ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา พิจารณาจัดประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดพะเยา กับคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดพะเยากำหนดแนวทางการดำเนินงานในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 และเทศกาลสงกรานต์ 2568 ร่วมกัน
3. ให้ที่ทำการปกครองจังหวัดพะเยาและสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพะเยา ส่งเสริมการจัดทำมาตรการชุมชน เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในพื้นที่ เช่น ร่วมกันจัดทำกติกาชุมชนด้านความปลอดภัยทางถนน เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบ “ด่านครอบครัว”เพื่อเน้นย้ำให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานและคนในครอบครัวไม่ให้ดื่มแล้วขับขี่ยานพาหนะและสร้างความตระหนัก
ในการป้องกันตนเองและผู้อื่นจากการดื่มแล้วขับ
4. ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา ประชาสัมพันธ์ผู้รับผิดชอบงานด้านสุขภาพภาคประชาชน และเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เกี่ยวกับวิธีการคัดกรองผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยใช้แนวทางการสังเกตและประเมินอาการมึนเมาสุราเบื้องต้น เพื่อให้ความรู้ประชาชนและป้องปรามพฤติกรรมเสี่ยงจากการดื่มแล้วขับ โดยสามารถศึกษาและเข้าถึงสื่อประชาสัมพันธ์
5. ให้ผู้นำท้องถิ่นทุกแห่งจัดให้มี จุดตรวจ/ด่านชุมชน ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยง โดยมีการคัดกรองคนดื่มทุกรายโดยเน้นกลุ่มที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ และกลุ่มเยาวชน
6. ให้ผู้นำท้องถิ่นทุกแห่งจัดเจ้าหน้าที่ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ประจำด่านชุมชน เพิ่มมาตรการทดสอบผู้ขับขี่ที่สงสัยว่าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ณ ด่านชุมชน โดยใช้แนวทางการสังเกตและประเมินอาการมึนเมาสุราเบื้องต้น เพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงดื่มแล้วขับและให้บันทึกรายงานข้อมูลผ่านระบบ E-Report ของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน
7. ให้หน่วยบริการสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุฉุกเฉินในพื้นที่
8. ให้ผู้นำท้องถิ่นดำเนินการการป้องปรามพฤติกรรมเสี่ยงระดับชุมชน โดยใช้มาตรการชุมชนเชิงบวก เช่น ส่งเสริมการจัดงานสังสรรค์ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีการคัตกรองผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลฮอฮอล์ บริเวณทางเข้า – ออกสถานที่จัดงาน การเยี่ยมบ้าน เพื่อให้ความรู้และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลกระทบการดื่มแล้วขับ เป็นต้น
9. ให้ตำรวจจัดตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์โดยเน้นกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ และกลุ่มเยาวชน
มากขึ้น และให้การสนับสนุนด่านชุมชนที่ขอความช่วยเหลือกรณีที่ผู้มีอาการมึนเมาสุราปฏิเสธการตรวจ
หรือใช้ความรุนแรง รวมถึงการสุ่มตรวจสถานบริการและบริเวณที่มีการจัดงาน
10.กรณีเกิดเหตุและมีผู้ผู้บาดเจ็บ/ผู้เสียชีวิต ให้มีการตรวจปริมาณแอลกอฮอล์ให้ครอบคลุมทุกรายในกรณีที่พบผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และสะสงสัยว่าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ทางลมหายใจผู้บาดเจ็บทุกรายหรือที่ผู้บาดเจ็บไม่สามารถเป่าวัดระดับแอลกอฮอล์ทางลมหายใจได้ ให้ทำหนังสือขอให้โรงพยาบาล
เจาะเลือดตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ ทันทีที่พบอุบัติเหตุหรือภายใน 4 ชั่วโมง หลังการเกิดอุบัติเหตุ
– หากพบปริมาณแอลกอฮอล์ใร่างกาย ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและคณะทำงานสหวิชาชีพ สอบสวนถึงสถานที่และบุคคลที่จำหน่าย หรือให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ตามที่กฎหมายกำหนด
– เจ้าหน้าที่ตำรวจ ดำเนินการกับบุคคลที่จำหน่าย หรือให้เรื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่ผู้ที่มีที่อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ตามที่กฎหมายกำหนด
– เจ้าหน้าที่ตำรวจรายงานผลประจำวันในที่ประชุมศูนย์ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดพะเยา
11. ให้เจ้าหน้าที่คุมประพฤติคัดกรองและส่งต่อผู้กระทำความผิดฐานเมาแล้วขับและถูกศาลสั่งคุมความประพฤติทุกรายที่ยินยอมเข้ารับการบำบัด เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาได้ที่สถานพยาบาลของกระทรวง
สาธารณสุขทุกแห่ง และส่งข้อมูลผลการคัดกรองไปยังสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทราบ
12. ให้เจ้าหน้าที่คุมประพฤติ พิจารณาจัดกิจกรรม/โครงการเพื่อสร้างความตระหนักและลดการกระทำผิดซ้ำตามความเหมาะสม เช่น ให้ผู้ถูกคุมประพฤติฐานความผิดเมาแล้วขับได้เรียนรู้ ช่วยเหลือและบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการดื่มแล้วขับ
13. ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2567 – 5 มกราคม 2568 และ
วันที่ 11 – 17 เมษายน 2568
ประกาศ ณ วันที่ 23/ ธันวาคม พ.ศ. 2567

Related posts