“เล่าเรื่อง เมืองล้านนา” 10 มกราคม 2568

จังหวัดพะเยา จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน จังหวัดพะเยา ประจำปี 2568 ตั้งเป้าลด Hotspot และพื้นที่เผ่าไหม้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

******************

วันเด็กแห่งชาติ ปี 2568  สวนสัตว์เชียงใหม่ ส่งมอบความสุขให้เด็กๆ เข้าชมสวนสัตว์ฟรี!

***********************

วันเด็กแห่งชาติ ปีนี้เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี มอบของขวัญพิเศษเด็ก ๆ เข้าฟรี  พร้อมชวนร่วมกิจกรรมวันเด็ก

*******************

ข่าวสังคมชาวบ้านประจำวันศุกร์ที่ 10 มกราคม 2568 โดยสินในน้ำ✍️….ช่วงนี้อากาศหนาวและที่มากับอากาศแบบนี้ก็คือเรื่องของท้องร่วงท้องเสีย ทางอาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ จึงมาเตือนพี่น้องประชาชนให้เฝ้าระวังการระบาดของโรคอหิวาตกโรค (Cholera ) ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อทางเดินอาหารที่อาจส่งผลรุนแรง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีปัญหาในด้านสุขาภิบาล โดย อ. พญ. อาทิตยา หลวงนรา อาจารย์ประจำหน่วยโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่….ได้เปิดเผยว่า โรคอหิอวาห์ที่ กำลังระบาดอยู่เวลานี้ เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารที่เป็นภัยคุกคามมนุษย์ชาติมานานหลายร้อยปี หรือนับพันปี โดยเฉพาะพื้นที่รอบอ่าวเบงกอลมีบันทึกเกี่ยวกันโรคที่มีลักษณะคล้านอหิวาห์ตกโรคปรากฏในตำราแพทย์สันสกฤตโบราณที่เขียนขึ้นราว 500-400 ปีก่อนคริสต กาล โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Vibrio cholerae ซึ่งสามารถพบได้ในแหล่งน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โดยเฉพาะในบริเวณที่มีแพลงก์ตอนวัตว์และหอยอาศับอยู่ เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถเกาะติดและเจริญเติบโตได้ดีในสิ่งแวดล้อมดังกล่าว และมีสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมีการ ระบาดวิทยา คือสายพันธุ์ดั่งเดิม 01 และ 0139 ซึ่งถูกค้นพบจากการระบาดครั้งสำคัญในอินเดียและบังคลาเทศในปี พ.ศ. 2535….ในปัจจุบันโรคอหิวาห์ตกโรคยังคงเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะในทวีปเอเชียและแอฟริกา การระบาดของโรคมักเกี่ยวข้องกับฤดูฝนหรือน้ำท่วม ซึ่งทำให้แหล่งน้ำสะอาดปนเปื้อนเชื้อโรค การติดเชื้อส่วนใหญ่มักเกิด จากการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ Vibrio cholerae โดยเฉพาะน้ำที่ไม่สะอาด อาหารทะเลดิบ หรืออาหารที่ปรุงไม่สุก นอกจากนี้ยังพบการแพร่เชื้อร่วมกันในผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน จากการปนเปื้อนอุจจาระของผู้ป่วยในอาหารหรือน้ำดื่มที่ใช้ร่วมกัน อย่างไรก็ตามการติดต่อจากคนสู่คนโดยตรงนั้นพบได้น้อยมาก….หลังจากได้รับเชื้อ เชื้อแบคทีเรียจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 4-5 วัน จากนั้นจะสร้างสารพิษที่เรียกว่า Cholera Toxin ซึ่งจะไปกระตุ้นเซลล์เยื่อบุลำไส้ให้ขับน้ำและเกลือแร่ออกมาในปริมาณมาก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรงโดยไม่ค่อยมีอาการปวดท้องและไม่ค่อยมีไข้ ลักษณะอุจจาระก็จะมีสีขุ่นคล้ายน้ำซาวข้าว และในบางรายอาจสูญเสียน้ำมากถึง 1,000 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง ผู้ป่วยที่ไม่ได้ รับการรักษาอย่างทันท่วงทีมักมีภาวะขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง จนนำไปสู่ภาวะช็อกและอาจเสียชีวิตได้ การวินิจฉัยโรคอหิวาห์ตกโรคสามารถทำได้โดยการเพาะเชื้อจากอุจจาระ ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานในการยืนยันการติดเชื้อ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้วิธีการทดสอบทางภูมิคุ้ม กันเพื่อตรวจหาสารพิษ จากเชื้อแบคทีเรีย หรือใช้ชุดทดสอบวินิจฉัยแบบรวดเร็ว ในพื้นที่การ ระบาดอย่างรุนแรง สำหรับการรักษา ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการชดเชยน้ำและเกลือแร่สูญเสียไปอย่างทันท่วงที โดยการดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ (Oral Rehydraion Solution – ORS ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง อาจจำเป็นต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำร่วมกับยาปฏิชีวนะเพื่อลดปริมาณเชื้อและอาการท้องร่วม….วันนี้ผมนำ เสนอเรื่องของโรคอหิวาห์ตกโรคมาเสียยาว เพื่อที่จะเป็นข้อมูลและป้องกันให้กับพี่น้องได้ระมัดระวังในเรื่องของการดื่มน้ำที่ไม่สะอาด และเรื่องของอาหารสุกๆ ดิบๆ และอาหารที่ค้างคืน
….สินในน้ำ

Related posts