###ประชุมเตรียมผลักดันนครสวรรค์เป็นเมืองจีนแห่งที่ 2 ของโลก###

การเข้าประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น : การพลิกฟื้นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุมชนสู่การพัฒนานครสวรรค์ให้เป็นเมืองจีนแห่งที่สองของโลก

เมื่อวันศุกร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 16.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ แสงทอง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ในฐานะหัวหน้าโครงการเพิ่มศักยภาพ
ชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น : การพลิกฟื้นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุมชน “ได้นำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และทีมงานวิจัย เข้าร่วมการประชุมปรึกษาหารือแนวทางการการดำเนิน


โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น : การพลิกฟื้นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุมชน ” สู่การพัฒนานครสวรรค์ให้เป็นเมืองจีนแห่งที่สองของโลก ณ ห้องรับรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์

การประชุมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายทวี เสริมภักดีกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานในการประชุม และได้รับเกียรติจาก รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เทศบาลนครนครสวรรค์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนคสวรรค์ และหัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ตลอดจนภาคเอกชน เช่น หอศิลป์นครสวรรค์ เข้าร่วมหารือและให้ข้อเสนอแนะแก่คณะวิจัยในการดำเนินงานในพื้นที่โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น : การพลิก
ฟื้นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุมชน สู่การพัฒนานครสวรรค์ให้เป็นเมืองจีนแห่งที่สองของโลก เป็นโครงการที่รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ แสงทอง ริเริ่มดำเนินการตามนโยบายของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปรานี
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่ให้ความสำคัญต่อการสร้างงานวิจัยที่รับใช้และพัฒนาชุมชนตามบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการรับใช้ท้องถิ่นชุมชน ดังจะเห็นได้จากแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่เน้นการสร้างงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมตามกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า และสร้างระบบนิเวศการวิจัยและนวัตกรรมเชิงพื้นที่

โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น : การพลิกฟื้นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุมชน” สู่การพัฒนานครสวรรค์ให้เป็นเมืองจีนแห่งที่สองของโลก มีวัตถุประสงค์
ในการสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์กับภาคีเครือข่ายระดับจังหวัด ภูมิภาค และนานาชาติในการพัฒนาฐานข้อมูลและนวัตกรรมทางวัฒนธรรมของชุมชนคนจีนต้นแม่น้ำเจ้าพระยา เป็น
กรณีศึกษาด้านการจัดการทุนและศักยภาพท้องถิ่นผ่านศาลเจ้าจีน ตลอดจนพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมเพื่อฟื้นฟูอัตลักษณ์วัฒนธรมและสำนึกท้องถิ่นชุมชนจีนต้นแม่น้ำเจ้าพระยาจังหวัดนครสวรรค์ รวมถึงเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาต้นแบบสร้างสรรค์ ตลอดจนต่อยอดการจัดการทุนและนวัตกรรมทางวัฒนธรรมสู่นโยบาย Soft Power ของจังหวัดนครสวรรค์เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะก่อให้เกิดภาคีเครือข่ายระดับจังหวัด ภูมิภาค และนานาชาติในการพัฒนา


ฐานข้อมูลและนวัตกรรมทางวัฒนธรรมไทย-จีน ในการพัฒนาเมืองนครสวรรค์สู่การเป็นเมืองจีนแห่งที่สองของโลก มีการใช้นวัตกรรมยกระดับสินค้า บริการ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทย -จีน
ให้เป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยว ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวในจังหวัดนครสวรรค์เพิ่มขึ้น เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน จนเกิดเป็นการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวแบบสร้างสรรค์

Related posts