เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 10 มกราคม 2565 ณ ห้องประชุมศูนย์สั่งการและควบคุมการปฏิบัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายกอบจ.นครสวรรค์ พร้อมคณะผู้บริหาร อบจ.นครสวรรค์ ประชุมร่วมกับนายไพรัช อ่อนคำภา ผอ.กลุ่มงานพัฒนาฝีมือแรงงาน พร้อมด้วยคณะจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 8 นครสวรรค์ ประชุมปรึกษาหารือเรื่องขอรับการสนับสนุนงบประมาณโครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนครอบครัวยากจนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจากจบการศึกษาภาคบังคับ ประจำปี พ.ศ.2565 ระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ และสถาพัฒนาฝีมือแรงงาน 8 นครสวรรค์
จากข้อมูลจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ระหว่างปี 2551 – 2559) มีจำนวนนักเรียนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับ มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.3) จำนวน 780,537 คน โดยเฉพาะปีการศึกษา 2561 มีจำนวนนักเรียนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับจำนวน 157,645 คน ซึ่งในแต่ละปีนักเรียนเหล่านี้ได้เข้าสู่ตลาดแรงงานในฐานะ “แรงงานไร้ฝีมือ” เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากได้มีการบูรณาการช่วยเหลือ เพิ่มทักษะด้านอาชีพให้แก่นักเรียนกลุ่มดังกล่าวหลังจบการศึกษาภาคบังคับแล้วจะช่วยให้นักเรียนกลุ่มดังกล่าวเข้าสู่ตลาดแรงงานในฐานะ “แรงงานมีฝีมือ” อันจะทำให้มีรายได้ ค่าจ้างที่สูงขึ้น เพื่อหาแนวทางการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด เพื่อช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มดังกล่าว ให้เกิดผลการดำเนินการประสบความสำเร็จ และเห็นควรมีการขยายผลการดำเนินงานตามโครงการให้ครอบคลุมทุกจังหวัด
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มทักษะด้านอาชีพให้กับเด็กนักเรียนครอบครัวยากจนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับทั่วประเทศ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายนักเรียนจบการศึกษาภาคบังคับ (ม.3) ที่ไม่ได้ศึกษาต่อ และอายุไม่เกิน 25 ปี เพื่อเข้ารับการเพิ่มทักษะด้านอาชีพ
พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ กล่าวว่า “ถือว่าเป็นโครงการที่ดี เห็นควรสำรวจทั้งจังหวัด เพราะอบจ.เป็นภาพร่วมของจังหวัด เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนที่ยากจนได้มีโอกาสได้รับการอบรมสร้างงาน สร้างอาชีพ และต้องคำนึงความถูกต้อง ตามระเบียบ ซึ่งในยุคนี้เทคโนโลยีก้าวไปไวมาก เห็นควรต้องร่วมพัฒนา และฝึกฝนในรูปแบบใหม่ ถ้าหากเราจะช่วยสังคม อยากให้มองเด็กจากกลุ่มสถานพินิจด้วย เพราะเด็กเหล่านี้เมื่ออกมา ไม่ได้รับการยอมรับ จึงจำเป็นต้องให้เขาออกมามีงานมีอาชีพเพื่อเป็นประจักรต่อสังคม ซึ่งในทุกหลักสูตรจะต้องมีใบประกาศนียบัตร เพื่อแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตร ตอนนี้อบจ.นครสวรรค์ได้เริ่มนำล่องให้นักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย(จิระประวัติ) นครสวรรค์ นั้น นักเรียน 1 คน ต้องมี 1 ความสามารถหรือ 1อาชีพ เพื่อเมื่อเรียนจบแล้วทุกคนต้องมีอาชีพติดตัว หากไม่ได้ศึกษาต่อ รวมทั้งสามารถสร้างรายได้ระหว่างเรียน โดยการวางแผนหลักสูตรอาชีพ โดยจึงเห็นด้วยกับโครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนครอบครัวยากจนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับ” พร้อมกันนี้นายกยังย้ำอีกว่า “การส่งเสริมด้านการอาชีพ สำหรับเด็ก และประชาชน นั้น จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และขอวางแผนร่วมกัน เพื่อให้เข้าแผนงบประมาณ ปี 2566 ”
นายไพรัช อ่อนคำภา ผอ.กลุ่มงานพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า “การฝึกอบรมเป็นการสร้างอาชีพและยกระดับให้แก่ผู้เข้าอบรม สำหรับผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมจะได้ร้อยละร้อย คือถ้าเป็นสถานประกอบการจะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ และสามารถซื้ออุปกรณ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศที่ลดราคาจากภาครัฐ ด้านขอการสนับสนุนจากอบจ. ถ้าเกินกลุ่มเป้าหมายอาจจะของบประมาณเพิ่มเติมจากทาง อบจ. เพื่อไม่ให้เป็นการเบิกจ่ายงบประมาณที่ซับซ้อน”