วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้การ
ต้อนรับพลเอกศิวะ ภระมรทัต รองผู้อานวยการศูนย์อานวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ในการตรวจเยี่ยมโครงการ
ปลูกป่าและป้องกันไฟป่า จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมด้วย นายสมหวัง เรืองนิวัติศัย รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นายดารัส โพธิ์ประสิทธิ์ ผู้อานวยการสานักอุทยานแห่งชาติ นายศักดิ์ชัย จงกิจวิวัฒน์ ผู้อานวยการสานัก
ป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า นายเกรียงศักดิ์ ถนอมพันธ์ ผู้อานวยการสานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) นายอนุรุทธ์ สุทธิวารินทร์กุล ผู้อานวยการส่วนควบคุมไฟป่า และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านควบคุมไฟป่า ณ ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าเชียงใหม่ ตาบลสุเทพ อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานภาคสนาม สังกัดสานักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการควบคุมไฟป่าในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลาพูน และจังหวัดแม่ฮ่องสอน
โดยมีชุดปฏิบัติการพิเศษดับไฟป่า หรือ “ชุดเสือไฟ” เป็นอัตรากาลังสนับสนุนภารกิจงานควบคุมไฟป่า ในพื้นที่ที่มี
ความสาคัญเฉพาะ เช่น พื้นที่พระตาหนักภูพิงคราชนิเวศน์ หรือพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่ารุนแรง
นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ด้านการประชาสัมพันธ์ป้องกันไฟป่า งานวิชาการ และงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับกรมอุทยานฯ
ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาสถานการณ์ไฟป่าในท้องที่ 9 จังหวัด ภาคเหนือ (จ.เชียงใหม่,จ.เชียงราย,จ.แพร่,
จ.พะเยา, จ.ตาก,จ.ลาพูน,จ.ลาปาง,จ.น่าน,จ.แม่ฮ่องสอน) โดยสนับสนุนเพิ่มเติมระบบเทคโนโลยีทางการสื่อสารและ การนาเสนอเพื่อให้สามารถติดต่อ ประสานและบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าในท้องที่ 9 จังหวัดภาคเหนือได้อย่างทันท่วงที สามารถกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ได้สนับสนุนอุปกรณ์ เครื่องมือที่ทันสมัยเพิ่มเติม และยกระดับให้เป็น “ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอก ควัน (ส่วนหน้า) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” เพื่อติดตามประสานงานและบัญชาการ แก้ไขปัญหา
ไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ
สาหรับการตรวจเยี่ยมศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าเชียงใหม่ ได้มีการบรรยายสรุปผลการดาเนินงานตามข้อแนะนา ของศูนย์อานวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ได้แก่ การนาเครื่องเป่าลมดับไฟป่าพระราชทานไปใช้ในการปฏิบัติงานควบคุมไฟป่า โครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า การต่อยอดผลดาเนินการและขยายผลตามโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “จิตอาสา”ตามโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า พร้อมทั้งข้อแนะนาของศูนย์อานวยการใหญ่จิตอาสา พระราชทาน เช่น พิกัดแหล่งน้าในการปฏิบัติงาน จุดตั้งถังเก็บน้าชั่วคราว พิกัดจุดจอดอากาศยาน (เฮลิคอปเตอร์)ชั่วคราว ข้อแนะนาในการดาเนินงานโครงการชิงเก็บลดเผา โดยการนาใบไม้จากการชิงเก็บมาทาปุ๋ยโดยใช้น้าจุลินทรีย์จิตอาสา การมอบแนวทางการปฏิบัติงานตามโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า โดยพลเอกศิวะ ภระมรทัต รอง ผู้อานวยการศูนย์อานวยการใหญ่ จิตอาสาพระราชทาน พร้อมทั้งชมแปลงสาธิต บริเวณศูนย์สั่งการและติดตามสถานการณ์ไฟป่า 9 จังหวัดภาคเหนือ
โดยการดาเนินงานในระยะที่ 1 ปี พ.ศ. 2563 ได้ปลูกเสริมป่า จานวน 1,968 ไร่ จัดทาฝายชะลอน้า 21 ฝาย และทาแนวกันไฟป่าเปียก 4 กิโลเมตร และดาเนินการปลูกเสริมป่า และฟื้นฟูป่า ระยะที่ ๒ ในปี 2564 เพิ่มอีก 40,282.35 ไร่ จัดที่ดินทากินในพื้นที่ลุ่มน้าชั้น 1 ,2 ,3 ,4 และชั้นที่ 5 โดยมีการออกแบบร่วมกับชุมชน ให้ควบคู่กับการปลูกไม้ยืนต้น ปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และการดาเนินการในระยะที่ 3 (2565 – 2570) จะ
ดาเนินการปลูกฟื้นฟูป่า จานวน 233,331.30 ไร่ และบริหารจัดการที่ดินทากินและที่อยู่อาศัย จานวนร้อยละ 15-
20 ของพื้นที่ต้นน้า พื้นที่ป่าเสื่อมสภาพ เพื่อให้มีพื้นที่ป่า/พื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น 275,481.65 ไร่
ในปี พ.ศ. 2564 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดย สานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
(เชียงใหม่) จะดาเนินการในพื้นที่ 18 ป่าอนุรักษ์ของจังหวัดเชียงใหม่ จานวน 419 หมู่บ้าน เนื้อที่ 8,682.35 ไร่
และจะดาเนินการในปี 2565-2570 เนื้อที่ 68,631.3029 ไร่
ทั้งนี้ ในด้านการป้องกันการเกิดไฟป่า และหมอกควัน ได้ดาเนินการวางแผนการบริหารจัดการเชื้อเพลิงใน
ห้วงเดือน มกราคม – เมษายน ไว้ไม่เกิน 500,000 ไร่ ซึ่งดาเนินแล้วเสร็จ จานวน 71,446.5 ไร่แล้ว และจุดความ
ร้อนลดลงจากปี 2563 กว่า 1,200 จุด และได้ดาเนินการชิงเก็บในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ตามนโยบายของ ทส.
เพื่อลดการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในรูปแบบชิงเผา โดยการนาใบไม้ เศษวัชพืชแห้ง มาเก็บในเสวียนเพื่อทาเป็นปุ๋ยหมักที่
สามารถนากลับไปใช้ในการเกษตรได้อีกครั้งหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งนามาจากการนาใบไม้มาอัดก้อน และส่งต่อให้แก่ เอกชน เพื่อนาไปแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทามาจากธรรมชาติต่อไป โดยในวันนี้ ยังได้มีการมอบแนวทางปฏิบัติงาน
รวมทั้งชมการสาธิตการใช้เครื่องอัดใบไม้โดยใช้เครื่องยนต์ เครื่องอัดใบไม้โดยใช้กาลังคน ถังน้าดับไฟป่าเคลื่อนที่
และเปิดตัวรถครัวสนามเคลื่อนที่ เพื่อใช้ในการดูแลเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านดับไฟป่า อีกด้วย
หลังจากนั้น พลเอกศิวะ ภระมรทัต รองผู้อานวยการศูนย์อานวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พร้อมคณะ เดินทางไปยัง วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคลบ้านโหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เพื่อรับฟังบรรยายสรุปและตรวจเยี่ยมพื้นที่ โครงการโหล่งขอดโมเดล พร้อมทั้ง เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าแปลงปลูกป่าและการป้องกันไฟป่าที่ได้เนินการในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้าตกบัวตอง-น้าพุเจ็ดสีจ.เชียงใหม่ ด้วย
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม /กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ข่าวแจกลาดับที่ ………………..วันที่………..11 ก.พ. 64………………..